รูปแบบการปกครองระบอบเผด็จการ

ลัทธิเผด็จการมีอยู่คู่กับสังคมโลกมาตั้งแต่มนุษย์รวมกันเป็นสังคมยุคแรก ๆ เช่น สังคมเผ่าที่มีหัวหน้าเผ่าที่เป็นผู้ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ปัจจุบัน สังคมได้วิวัฒนาการไปมาก รูปแบบการปกครองของลัทธิเผด็จการก็มีหลากหลาย ทั้งนี้เนื่องจากประเทศนั้น ๆ ได้ พยายามที่จะเอาลัทธินี้มาเสริมแต่งให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของตน เนื่องจากผู้นำเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ตนอยู่ในอำนาจนานมากที่สุด

1.เผด็จการอำนาจนิยม หมายถึง การปกครองที่ใช้อำนาจเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ โดยมีอำนาจเป็นวิธีทางและจุดหมายปลายทาง รัฐบาลจะเข้าคุมสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน และไม่ยอมให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองมีการตรวจสอบหรือใช้อำนาจสั่งปิดหนังสือพิมพ์โดยอ้างลัทธิชาตินิยมมาสร้างความ ชอบธรรมมาใช้กับอำนาจของตน แต่รัฐจะยังคงให้เสรีภาพในทางเศรษฐกิจและสังคม กล่าวคือ ประชาชนสามารถเลือกนับถือศาสนา ดำเนินชีวิตส่วนตัวและ ธุรกิจอย่างเป็นอิสระพอเหมาะสมเผด็จการอำนาจนิยมจะมีการลงโทษผู้กระทำผิดต่อเกณฑ์ของบ้านเมืองอย่างรุนแรง ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ผู้นำอำนาจนิยมนั้นจะพยายามแสวงหาอำนาจ และเมื่อได้อำนาจจะใช้อำนาจบีบบังคับและกำจัดฝ่ายตรงข้ามหรือศัตรูทางการเมือง หรือแม้แต่กลุ่มทางการเมืองอื่น ๆ ที่ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองหรืออาจได้รับผลกระทบ แต่เพียงเล็กน้อยเนื่องจากกลุ่มดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นศัตรูทางการเมืองโดยตรง

2.เผด็จการเบ็ดเสร็จ หมายถึง การปกครองที่มีผู้นำซึ่งมีอำนาจสูงสุดเป็นผู้ใช้อำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว และอำนาจยังสามารถกำหนดจุดหมายปลายทางและวิธีการต่าง ๆ ได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัดโดยพยายามสร้างอุดมการณ์ขึ้นมาเพื่อให้เกิดความชอบธรรมให้กับการใช้อำนาจนั้น ๆ เช่น การจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา แต่ผู้พรรคเพียงคนเดียวเท่านั้นที่สามารถเข้าควบคุมอำนาจ พยายามสร้างความสำนึกให้ประชาชนเคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามอำนาจรัฐหรือคำสั่งผิดอย่างรุนแรง เผด็จการประเภทนี้ใช้ความรุนแรงสังคมที่ปกครองโดยลัทธิเผด็จการ เบ็ดเสร็จ จึงมีสภาพเป็น อาณาจักรแห่งความกลัวประชาชนไม่แน่ใจในสภาพของตนเองประชาชนจึงไม่วิพากษ์วิจารณ์หรือคัดค้านผู้นำจะว่าเป็นอาชญากรที่ต่อต้านรัฐ และจะถูกกำจัดออกไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น